วันพุธที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2552

วันศุกร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2552

วันอังคารที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2552

วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2552

Home เปิดหน้าต่างโลก

สารคดียอดเยี่ยมแห่งปีที่ ญานน์ อาร์ทูส์-แบร์ทรองด์ นอกจากทำหน้าที่กำกับแล้วยังร่วมเขียนบทพร้อมกับใช้เวลาในการสร้างร่วม 3 ปี เพราะต้องเดินทางหาโลเกชั่นเพื่อถ่ายทำให้ได้ภาพแปลกตากว่า 54 ประเทศ เนื่องจากเป็นภาพยนตร์ที่แสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อโลก จึงต้องตระเวนถ่ายทำเพื่อเก็บสต๊อกภาพที่มีความยาวถึง 488 ชั่วโมงแล้วนำมาตัดต่อให้เหลือเพียง 120 นาทีสำหรับภาพยนตร์สารคดีเรื่องเยี่ยม โฮม (Home) เปิดหน้าต่างโลก ที่ เอ็มพิคเจอร์ส เตรียมนำ มาให้แฟนๆ ในไทยได้ชมกันเพราะถึงเวลาที่มนุษย์ทุกผู้คนต้องรู้จักปกป้องและรักษาสิ่งแวดล้อมโลกก่อนที่จะสายเกินไป เนื่องจากมนุษย์ได้ทำลายสมดุลธรรมชาติมามากมายแล้ว
คุณเคยเห็นโลกภาคพื้นดิน ผ่านท้องฟ้าสีครามหรือไม่ ผืนน้ำใสสะอาด ตึกรามบ้านช่อง ป่าไม้เขียวขจี เสมือนเรากำลังโอบกอดทั้งโลกไว้ได้ด้วยสองมือของเรา "ยานน์ อาร์ทัส-เบอร์ทรานด์" กำลังแสดงให้เราเห็นถึงโลกที่เขาเชื่อว่ายังมีอีกหลายคนที่ยังไม่เคยพบ มุมมองที่มนุษย์เดินดินไม่มีวันได้เห็น โลกที่เหมือนเพชรสีน้ำเงินลอยอยู่ในห้วงแห่งอวกาศอันมืด ทำให้เราได้เห็น ได้เข้าใจและตระหนักถึงภัยพิบัติที่กำลังจะเกิดขึ้นผ่านช่วงเวลายาวนานจนทรัพย์สมบัติที่ชื่อว่า "ธรรมชาติ" กำลังจะสูญสลายไปด้วยมือของเราและนั่นอาจหมายถึงสัญญาณที่เตือนว่าคงถึงเวลาที่เราจำเป็นต้องปกป้อง "บ้าน" หลังใหญ่แห่งนี้ไว้ด้วยตัวของเราเอง
ในตลอด 200,000 ปีบนโลก มนุษยชาติพลิกผันดุลยภาพของดาวดวงนี้ ซึ่งกว่าจะเข้ารูปเข้ารอยก็ต้องอาศัยวิวัฒนาการเกือบ 4 พันล้านปี ทุกวันนี้คือเวลาแห่งการชดใช้อย่างสาสม และสายเกินกว่าจะคร่ำครวญ มนุษยชาติเหลือเวลาอีกไม่ถึง 10 ปีเพื่อกลับตัวกลับใจ เพื่อตระหนักถึงความอุดมสมบูรณ์ของโลกที่สูญสิ้นไปทุกหย่อมหญ้า และเพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการผลาญทรัพยากร
นอก จากจะได้เห็นฟุตเทจแปลกตาซึ่งรวบรวมมาจากเหนือพื้นดินของกว่า 50 ประเทศ รวมถึงได้ร่วมแบ่งปันความพิศวงสงสัยและความกังวลใจ ญานน์ อาร์ทูส์-แบร์ทรองด์ ยังหวังว่า ภาพยนตร์เรื่องนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นให้เราร่วมแรงร่วมใจกันฟื้นฟูบ้านหลัง ใหญ่ขึ้นมาอีกครั้ง และนี่คือข้อมูลที่คุณควรได้รู้ไว้
- 20% ของประชากรโลกถลุงทรัพยาการของดาวดวงนี้ไปถึง 80%- ทั้งโลกใช้จ่ายด้านยุทโธปกรณ์มากกว่านำเงินไปช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาถึง 12 เท่า- 5 พันคนต่อวันเสียชีวิตเพราะน้ำดื่มที่ปนเปื้อน และ 1 พันล้านคนไม่มีน้ำสะอาดไว้ดื่ม- 1 พันล้านคนกำลังหิวโหย- กว่า 50% ของเมล็ดธัญพืชที่ซื้อขายกันทั่วโลกใช้เป็นอาหารสัตว์และผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ- พื้นที่กสิกรรมเสื่อมสภาพไปถึง 40%- ทุกๆ ปี พื้นที่ป่าสูญหายไป 13 ล้านเฮกตาร์- 1 ใน 4 ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม, 1 ใน 8 ของนก และ 1 ใน 3 ของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำใกล้จะสูญพันธุ์ สัตว์หลายๆ สปีชี่ตายเร็วกว่าอายุขัยตามธรรมชาติถึง 1 พันเท่า- ผลิตผลทางการประมงลดน้อยลง สูญสิ้น หรือเสี่ยงต่อการสูญสิ้นถึง 75%- ตั้งแต่เริ่มบันทึกสถิติ อุณหภูมิเฉลี่ยในช่วง 15 ปีที่ผ่านมานับว่าสูงที่สุด- แผ่นน้ำแข็งขั้วโลกบางลงถึง 40% ในระยะเวลา 40 ปี- ก่อนถึงปี 2050 คาดว่าจะมีผู้ลี้ภัยจากสภาพอากาศอันเลวร้าย 200 ล้านคน


การเก็บเกี่ยว ข้าวสาลี ในเมืองลามาร์ รัฐโคโลราโด้ อเมริกา
วิธีการนำเสนอ หนังเรื่องนี้ เด่นชัดมากในเรื่องของมุมกล้อง สีสัน และก็ Computer Graphicสวย เนียน ดูเป็นธรรมชาติ การถ่ายทำ ส่วนใหญ่ก็จะถ่ายบนเฮลิคอปเตอร์ กล้องที่ใช้ถ่ายทำ Cineflex สามารถซูมได้ไกลมาก และยังชัดมากอีกด้วย ทำให้ภาพยนตร์ สารคดี เรื่องนี้มีภาพที่สวยงามและคมชัดเป็นอย่างยิ่ง การถ่ายทำฟุตเทจทางอากาศยังอยู่ภายใต้เงื่อนไขทางเทคนิคอีกมากมาย เริ่มจากต้องใช้กล้องตามที่กำหนด นั่นคือ Gyro-Stabilized Cineflex HD ซึ่งชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นกล้องที่ให้ภาพราวกับการเคลื่อนไหวของเครนไม่ว่าจะอยู่ในสภาวะสั่นสะเทือนหรือไม่ก็ตาม แรกเริ่มเดิมที กล้องรุ่นนี้พัฒนาขึ้นมาโดยวัตถุประสงค์ทางการทหาร กล่าวคือ เพื่อช่วยในการค้นหาเป้าหมาย มันจึงซูมได้ในระยะไกลมาก และยังเปลี่ยนเทปบันทึกภาพได้ทันทีบนเฮลิคอปเตอร์และภาพยนตร์สารคดีเรื่องเยี่ยมด้วยมุมมองการมองเห็นโลกอันสวยงามผ่านสายตาของช่างภาพชาวฝรั่งเศสฝีมือระดับโลกอย่าง ยานน์ อาร์ทัส-เบอร์ทรานด์ ช่างภาพทางอากาศที่เคยเปิดนิทรรศการเผยแพร่ภาพถ่ายของโลก

ภาพกราฟฟิกของภูเขาน้ำแข็งที่เริ่มหลอมละลายที่ไซบีเรีย, รัสเซีย

สิ่งที่ชอบในภาพยนตร์สารคดี เรื่องนี้ก็คือ ภาพสวย สีสีนดูสวยงาม และยังแฝงไว้ซึ่งเนื้อหา ดีๆ อีกมากมาย เมื่อได้ชมภาพยนตร์เรื่องนี้แล้วก็จะตระหนักถึงการใชทรัพยากรทางธรรมชาติเพิ่มมากขึ้น เพราะทุกวันนี้ มนุษย์ได้ทำลายทรัพยากรธรรมชาติไปจนแทบจะไม่เหลือ ภาพที่ได้จากภาพยนตร์เรื่องนี้มัน สะท้อนออกมาหมดเลย มนุษยชาติเหลือเวลาอีกไม่ถึง 10 ปีเพื่อกลับตัวกลับใจ เพื่อตระหนักถึงความอุดมสมบูรณ์ของโลกที่สูญสิ้นไปทุกหย่อมหญ้า และเพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการผลาญทรัพยากร


สภาพซากเศษตกค้างของการขุดเจาะบ่อน้ำมัน ในฟอร์ท แมคเมอร์เรย์, อัลเบอร์ต้า ประเทศแคนาดา
สิ่งที่ไม่ชอบ จากภาพยนตร์ เรื่องนี้ก็คือ บางฉาก ดูไม่ค่อยมีความต่อเนื่องกันเท่าไหร่ ดูแล้วมันไม่ค่อยลื่นไหลและก็มีการดำเนินเรื่อง ที่ค่อนข้างช้า ดูนานๆแล้วอาจะง่วงได้ ส่วนเรื่องภาพเรื่อง Graphic แล้ว ทุกอย่างลงตัวสวยงาม
ข้อเสนอแนะ ก็คือ เป็นภาพยนตร์ที่ดูแล้วไม่ค่อยตื่นเต้นเท่าไร มันดูเอื่อยๆ ไปนิดนึง น่าจะเพิ่มความตื่นเต้นเข้ามาอีกหน่อยเพราะถ้าดู ไปนานๆ มันก็จะเริ่มรู้สึกน่าเบื่อ หรืออาจจะง่วงนอนได้ แต่องค์ประกอบโดยรวมของภาพยนต์ เรื่องนี้ก็ลงตัวดีแล้ว ภาพสวย มุมกล้องสวยงาม ดูแล้วรู้สึกว่าต้องช่วยกันฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติก่อนที่มันจะหมดไป



keywords 10 คำ
1.มนุษย์
2.ทรัพยากร
3.น้ำดื่ม
4.เชื้อเพลิง
5.สถาปัตยกรรม
6.วัฏจักร
7.ความเจริญ
8.ทำลาย
9.ธุรกิจ
10.ก่อสร้าง



วันพุธที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2552

Cotton's natural world

แนวคิด ก็คือ ผ้า cotton ได้ผลิตมาจาก เส้นใยจากธรรมชาติ และอีกอย่าง cotton ก็ช่วยรักษาสถาพแวดล้อมอีกด้วย เลยทำรายสกรีนเสืออกมา เปน รูป ต้นไม้ เพื่อให้ดูเป็นธรรมชาติ

มือถือพลังงานแสงอาทิตย์จากขวดน้ำรีไซเคิล

ซัมซุงเผยโฉม "บลูเอิร์ธ" มือถือชาร์จแบตจากพลังงานแสงอาทิตย์เครื่องแรกของโลก
บริษัทซัมซุง อิเล็กทรอนิกส์ พัฒนามือถือที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รุ่น "บลูเอิร์ธ"(Samsung Blue Earth) ภายใต้แนวคิด “เดอะ บลู เอิร์ธ ดรีม: รักษ์สิ่งแวดล้อมพร้อมมือถือซัมซุง” (The Blue Earth Dream: Eco-living with SAMSUNG mobile) ซึ่งเป็นโทรศัพท์มือถือแบบระบบสัมผัส และใช้ พลังงานจากแสงอาทิตย์ โดยมีแผงโซล่าร์เซลล์ติดอยู่ด้านหลังของตัวเครื่อง สำหรับชาร์จแบตเตอรี่
วัสดุที่เป็นส่วนประกอบของตัวเครื่องส่วนใหญ่ผลิตมาจาก พลาสติก PCM ซึ่งทำมาจากขวดน้ำรีไซเคิล และอุปกรณ์เสริมต่าง ๆ ก็ปราศจากสารอันตรายอย่าง Brominated Flame Retardants, Beryllium และ Phthalate แถมยังบรรจุอยู่ในแพคเกจที่ผลิตมาจากกระดาษรีไซเคิลอีกด้วย
นอกจากนี้ยังมีฟังก์ชัน Eco-mode ที่ช่วยประหยัดพลังงานในส่วนการทำงานของแสงสว่างหน้าจอ ไฟพักหน้าจอ บลูทูธ และที่เก๋มาก ๆ ก็คือ มีการติดตั้งโปรแกรม Eco walk วัดจำนวนก้าวที่เดินของเจ้าของเครื่องเพื่อคำนวณจำนวนต้นไม้ที่เราจะอนุรักษ์ไว้ได้หากใช้การเดินแทนการขับรถ
ส่วนที่ชาร์จแบตเตอรรี่จากไฟฟ้าก็ยังคงมีอยู่ แต่ประหยัดพลังงานมากขึ้น โดยใช้ไฟแสตนด์บายไม่ถึง 0.03 วัตต์
ซัมซุงต้องการพิสูจน์ว่าสิ่งเล็ก ๆ ที่พวกเขาทำนั้นมีความหมายยิ่งใหญ่ในการรับผิดชอบต่ออนาคตและสิ่งแวดล้อม ซึ่ง ซัมซุง บลูเอิร์ธ นี้ได้เปิดตัวเป็นครั้งแรกในงานโมบายเวิลด์ คองเกรส ที่เมืองบาร์เซโลนา ประเทศสเปน และคาดว่าจะเริ่มวางจำหน่ายในยุโรปช่วงครึ่งปีหลังนี้
ก็ต้องรอลุ้นว่าจะสู้ราคากันไหวมั้ย การใช้พลังงานสะอาดแบบนี้นอกจากจะเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังทำให้ผู้ที่อยู่ในพื้นที่ที่ไม่มีไฟฟ้ามีโอกาสใช้เครื่องมือสื่อสารด้วย
"ที่ชาร์จแสงอาทิต"
หลังจากโอเปอเรเตอร์รายใหญ่ของญี่ปุ่นอย่าง KDDI และ SoftBank เปิดตัวโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ที่ฝังระบบชาร์จพลังงานแสงอาทิตย์ของชาร์ปในตัวมาแล้วหลากหลายรุ่น ล่าสุดชาร์ปประกาศพร้อมส่งระบบชาร์จพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับอุปกรณ์พกพาออกไปจำหน่ายทั่วโลก ฟุ้งสามารถปรับได้ตามความต้องการของค่ายผู้ผลิตทุกราย
ระบบชาร์จพลังงานแสงอาทิตย์ ที่ ชาร์ป พร้อมส่งไปจำหน่ายทั่วโลกมีชื่อว่า LR0GC02 Solar Module for Mobile Devices มาพร้อม แผงโซลาเซลล์ความหนาเพียง 0.8 มม. ทำลายสถิติเป็นระบบชาร์จพลังงานแสงอาทิตย์ที่บางที่สุดในโลก
แผงโซลาเซลล์ของ LR0GC02 ทำมาจากโพลีคริสตอลลีนซิลิกอน สามารถให้พลังงานสูงสุด 300 mW ซึ่งหรูหราพอจะเป็นแหล่งพลังงานให้กับอุปกรณ์เคลื่อนที่นานาชนิด ชาร์ประบุว่ารูปแบบของการสร้างพลังงานจากแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้าใน LR0GC02 สามารถนำไปปรับเปลี่ยนให้รองรับมาตรฐานการผลิตต่างค่ายต่างบริษัทได้ เรียกว่ายืดหยุ่นเต็มที่สำหรับการนำไปติดตั้งในอุปกรณ์นานาชนิด
ระบบชาร์จพลังงานแสงอาทิตย์ที่ถูกผูกรวมไว้ในโทรศัพท์มือถือนั้นเกิดขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้ ผู้ใช้สามารถชาร์จพลังงานอุปกรณ์ได้ขณะอยู่นอกอาคาร สร้างความสะดวกสบายและรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งการประกาศครั้งนี้ชี้ว่า โทรศัพท์มือถือพลังงานแสงอาทิตย์มาตรฐานเดียวกันทั่วโลกจะออกวางออกวางจำหน่ายในตลาดอย่างหนาตามากขึ้น

ที่มา
www.thaisarn.com



"โน้ตบุ๊กไม้ไผ่" ใส่ใจสิ่งแวดล้อม


"โน้ตบุ๊กไม้ไผ่" ใส่ใจสิ่งแวดล้อม
อัสซุสทำเก๋ถอยโน้ตบุ๊กรุ่น Bamboo เอาใจนักไอทีด้วยดีไซน์รักษ์สิ่งแวดล้อม
บริษัท อัสซุสเทค คอมพิวเตอร์(ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ก พีดีเอ โฟนและอีอีอี พีซี แอบอิงกระแสโลกร้อนด้วย "โน้ตบุ๊กไม้ไผ่" (ASUS Bamboo Notebook) รุ่น U6 ขนาดหน้าจอ 12 นิ้ว น้ำหนัก 1.5 กิโลกรัม บริเวณฝาปิดด้านนอกและตัวเครื่องด้านในทำจากวัสดุไม้ไผ่อัดขึ้นรูป ตามแนวคิดอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งนอกจากจะดูสวยเก๋แบบธรรมชาติแล้ว ยังมาพร้อมกับระบบการใช้งานที่ช่วยประหยัดพลังงานได้มากขึ้นอีกด้วย
โดย ASUS Bamboo Notebook เครื่องนี้มีระบบ Intel Core2 Duo Processors และ DDRII RAM ซึ่งช่วยยืดระยะเวลาการใช้งานของแบตเตอรี่ได้ 35-70 เปอร์เซ็นต์ และระบบประหยัดพลังงาน Super Hybrid Engine (SHE) โดยผสมผสานระหว่างซอฟแวร์และฮาร์ตแวร์ ทำให้สามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ตัวการสำคัญของภาวะโลกร้อนได้ถึง 12.30 กิโลกรัมต่อปีต่อโน้ตบุ๊กไม้ไผ่หนึ่งตัว